เมนู

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อม
ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของ
พราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แล้วซึ่ง
ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อม
ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและ
เสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้
สว่างอยู่ ฉะนั้น.

นี้ชื่อว่า

ปฐมพุทธพจน์

แต่อาจารย์ผู้กล่าวบทแห่งธรรม ย่อมกล่าวว่า
ชื่อว่า ปฐมพุทธพจน์นี้ คือ
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
เมื่อเราแสวงหานายช่าง (คือตัณหา)
ผู้กระทำซึ่งเรือน ยังไม่พบ จึงต้องท่องเที่ยว
ไปสู่สงสารมีชาติมิใช่น้อย เพราะการเกิด
บ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายผู้กระทำซึ่ง
เรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือน
ไม่ได้อีก ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหัก

เสียแล้ว เรือนยอดเราก็รื้อออกแล้ว จิตของ
เราถึงวิสังขาร (คือพระนิพพาน) ถึงความ
สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว.

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงไสยาสน์ในระหว่างต้นสาละคู่ ใน
สมัยใกล้ปรินิพพานตรัสไว้ว่า หนฺททานิ ภิกฺขเว ฯ ป ฯ สมฺปาเทถ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอาเถอะ ตถาคตจักเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย
มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประ-
มาทเถิด ดังนี้ ชื่อว่า ปัจฉิมพุทธพจน์.
พระสัทธรรมที่ประกาศอมตะที่พระองค์ตรัสไว้ 45 พรรษาในระหว่าง
พระพุทธพจน์ทั้งสอง เหมือนนายมาลาการร้อยพวงดอกไม้ และเหมือนช่าง
แก้วร้อยพวงแก้ว ชื่อว่า มัชฌิมพุทธพจน์ พระพุทธพจน์นั้นแม้ทั้งหมด
เมื่อประมวลเข้าด้วยกัน โดยปิฎกเป็น 3 ปิฎก โดยนิกายเป็น 5 นิกาย โดย
องค์มีองค์ 9 โดยธรรมขันธ์ได้ 84,000 พระธรรมขันธ์.
อย่างไร. จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้แม้ทั้งหมด โดยปิฎกมี 3ประเภทเท่านั้น
คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. บรรดาปิฎกทั้ง 3 นั้นพระพุทธ-
พจน์นี้คือ ปาฏิโมกข์ทั้งสอง วิภังค์ทั้งสอง ขันธกะ 22 ปริวาร 16 ชื่อว่า
วินัยปิฎก.
พระพุทธพจน์นี้ คือ ทีฆนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ 34 สูตรมีพรหม
ชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ 152 สูตร มีมูลปริยาย-
สูตรเป็นต้น สังยุตตนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ 7,762 สูตร มีโอฆตรณ-
สูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ 9,557 สูตร มีจิตต-
ปริยายสูตรเป็นต้น ขุททกนิกายมี 15 ประเภท คือ 1. ขุททกปาฐะ

2. ธรรมบท 3. อุทาน 4. อิติวุตตกะ 5. สุตตนิบาต 6. วิมานวัตถุ
7. เปตวัตถุ 8. เถรคาถา 9. เถรีคาถา 10. ชาดก 11. นิทเทส
12. ปฏิสัมภิทา 13. อปทาน 14. พุทธวงศ์ 15. จริยาปิฎก ชื่อว่า
สุตตันตปิฏก.
ปกรณ์ 7 มีธรรมสังคณีเป็นต้น ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก.

คำว่า วินัย มีอรรถ 3 อย่าง



บรรดาปิฎกทั้ง 3 นั้น พระวินัยนี้ บัณฑิตผู้รู้เนื้อความแห่งพระวินัย
กล่าวว่า วินัย เพราะมีนัยต่าง ๆ มีนัยพิเศษ และเพราะฝึกหัดกายวาจา.
จริงอยู่ ในพระวินัยปิฎกนี้ ชื่อว่า มีนัยต่าง ๆ คือ มีนัยที่แยก
ไว้โดยปาฏิโมกขุทเทส 5 อย่าง อาบัติ 7 กองมีปาราชิกเป็นต้น มาติกา
และวิภังค์เป็นต้น และที่ชื่อว่า มีนัยพิเศษ คือ นัยแห่งอนุบัญญัติ ซึ่งมีการ
ทำให้มั่นคง และการทำให้หย่อนเป็นประโยชน์ อนึ่ง วินัยนี้ ชื่อว่า ย่อม
ฝึกหัดกายวาจา เพราะป้องกันการประพฤติผิดทางกายและวาจา เพราะฉะนั้น
วินัยนี้ บัณฑิตจึงกล่าวว่า ชื่อว่า วินัย เพราะมีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ
เพราะฝึกหัดกายวาจา ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถ
แห่งการกล่าวถึงพระวินัยนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถาไว้ว่า
วิวิธวิเสสนยตฺตา วินยนโต เจว กายวาจานํ
วินยตฺถวิทูหิ อยํ วินโย วินโยติ อกฺขาโต

พระวินัยนี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัย
ทั้งหลาย กล่าวว่า พระวินัย เพราะมีนัยต่างๆ
เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกหัดกายวาจา

ดังนี้.